O4 ข้อมูลคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของสถานีตำรวจ

บทบาทภารกิจ
บทบาทภารกิจของ กต.ตร.กทม. กต.ตร.จังหวัด และ กต.ตร.สถานีตำรวจ ถูกกำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 18(6) ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ.2549 ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 และระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยการรับคำร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะของประชาชน พ.ศ. 2549 ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
           1. ภารกิจหลัก ตามมาตรา 18 (6 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 กำหนดให้ กต.ตร.กทม. กต.ตร.จังหวัดและ กต.ตร.สถานีตำรวจ มีบทบาทภารกิจในการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของ บช.น. / ภ.จว. ให้เป็นไปตามนโยบายของ ก.ต.ช. และการบริหารราชการตำรวจให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ และกฎหมายอื่น ซึ่ง ก.ต.ช. ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของ กต.ตร.กทม,/จังหวัด และสถานีตำรวจในเรื่องดังกล่าว ไว้ในระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549
นอกจากนี้ทั้ง กต.ตร.กทม. กต.ตร.จังหวัด และ กต.ตร.สถานีตำรวจยังมีภารกิจในการตรวจสอบติดตามผลตามคำร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะตามนัยระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยการรับคำร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะของประชาชน พ.ศ.2549 อีกส่วนหนึ่งด้วย
          2. ภารกิจสนับสนุน เป็นภารกิจตามที่ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2549 กำหนดเป็นภารกิจในการ
1) ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจนครบาลตำรวจภูธรจังหวัด สถานีตำรวจนครบาลและสถานีตำรวจภูธร แล้วแต่กรณี
2) ส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจและการบริหารงานตำรวจ
3) ให้ข้อมูลข่าวสารและเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่
4) แนะนำ และช่วยเหลือสนับสนุนการประชาสัมพันธ์งานของ บช.น./ จังหวัด หรือสถานีตำรวจ แล้วแต่กรณี
5) ตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษา
          3. ภารกิจการมีส่วนร่วม เนื่องจากองค์กร กต.ตร.ในปัจจุบันเป็นองค์กรที่มีประชาชนในท้องถิ่น / ชุมชนเป็นกรรมการในสัดส่วนที่เท่า ๆ กันกับข้าราชการ ดังนั้นตามระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2549 จึงกำหนดให้ กต.ตร. เป็นองค์กรสำคัญมีบทบาทเป็นแกนนำในการให้ท้องถิ่น/ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยกำหนดบทบาท ภารกิจของ กต.ตร.สน./สภ. กต.ตร.กทม. และ กต.ตร.จังหวัด ไว้ดังนี้
          กต.ตร.สน./สภ. กำหนดให้ กต.ตร.สน./สภ. มีบทบาทในการกำหนดลักษณะ รูปแบบและวิธีการให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจของ สน.สภ. ด้านต่าง ๆ รวม 6 ด้าน
1) ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
2) ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยของประชาชน
3) ด้านการป้องกันปราบปรามยาเสพติด
4) ด้านการจราจร
5) ด้านการดูแลสาธารณสมบัติ และ
6) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น
          โดยคำนึงถึงปัจจัยทางค้านอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย สภาพทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจสังคม ประเพณี วัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละท้องถิ่นและชุมชนเป็นสำคัญ ทั้งยังกำหนดลักษณะของการมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ 5 ลักษณะด้วยกัน คือ
1) มีส่วนร่วมในการคิด ศึกษาและค้นคว้าหาสภาพและสาเหตุของปัญหาตลอดจนความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน
2) มีส่วนร่วมในการริเริ่มและตัดสินใจกำหนดกิจกรรมเพื่อลดและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นและชุมชน
3) มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และ/หรือการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติและ หรือ การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติตามกิจกรรมเพื่อลดและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นและชุมชน
4) มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามการคำเนินกิจกรรม
5) มีส่วนร่วมในการเสนอแนะและปรับปรุง

อำนาจหน้าที่ คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.)

  1. รับแนวทางและนโยบายการพัฒนาและการบริหารงานตำรวจ  จากคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผล    ตามนโยบาย
  2. ให้คำปรึกษาและเสนอแนะการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
  3. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจและการบริหารงานตำรวจ
  4. ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
  5. รับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจ และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ว่าด้วยการรับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับ   การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ
  6. ให้ข้อมูลข่าวสารและเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่
  7. ให้คำแนะนำและช่วยเหลือสนับสนุนการประชาสัมพันธ์งานของ   สถานีตำรวจ
  8. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการ  อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ กต.ตร.สน./สภ. มอบหมาย
  9. รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ   (ก.ต.ช.) ทราบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) กำหนด
  10. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มอบหมาย


ข้อมูล ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567

ข้อมูล ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567

ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2567

ผลการดำเนินงานของ กต.ตร.สภ.บ้านโป่ง ที่ผ่านมารอบ 6 เดือนแรก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

  1.  ผลการดำเนินงานของ กต.ตร. สภ.บ้านโป่งปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ประจำเดือน ตุลาคม 2566

  2.  ผลการดำเนินงานของ กต.ตร. สภ.บ้านโป่ง ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ประจำเดือน พฤศจิกายน 2566

  3.  ผลการดำเนินงานของ กต.ตร. สภ.บ้านโป่ง ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ประจำเดือน ธันวาคม 2566

  4.  ผลการดำเนินงานของ กต.ตร. สภ.บ้านโป่ง ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ประจำเดือน มกราคม 2567

  5.  ผลการดำเนินงานของ กต.ตร. สภ.บ้านโป่ง ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2567

  6.  ผลการดำเนินงานของ กต.ตร. สภ.บ้านโป่ง ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ประจำเดือน มีนาคม 2567

ข้อมูล ณ วันที่ 1 เม.ย.67